เมนู

จึงถวายพระพรกะพระยามิลินทร์ว่า มหาบพิตร วิริยะมีการอุปถัมภ์คือค้ำจุน
ไว้เป็นลักษณะ กุศลธรรมทั้งหมดมีวิริยอุปถัมภ์ค้ำจุนแล้ว ย่อมไม่เสื่อมไป
เหมือนเมื่อบ้านเก่าจะพังไป ได้ไม้อื่นมาค้ำจุนไว้ บ้านเรือนที่มีเสาอุปถัมภ์
ค้ำจุนแล้วนั่นแหละก็ไปพึงล้มไป ฉะนั้น.
เหมือนอย่างว่า กองทัพน้อยและกองทัพใหญ่ทำสงครามกัน กองทัพ
น้อยถอยร่นมา ทีนั้นเขาพึงกราบทูลพระราชา พระราชาพึงส่งพลและพาหนะ
ไป กองทัพของพระองค์อันพลและพาหนะสนับสนุนแล้ว พึงยังกองทัพของ
ข้าศึกให้พ่ายแพ้ ฉันใด วิริยะก็เหมือนกันนั่นแหละ ย่อมไม่ทำให้สัมปยุตธรรม
ที่เกิดพร้อมกันให้ล้าให้ถอย ย่อมยกคือย่อมประคองไว้ ด้วยเหตุนั้น จึงกล่าว
ว่า วิริยะ มีความประคองไว้เป็นลักษณะ.
อีกนัยหนึ่ง วิริยะมีความอุตสาหะเป็นลักษณะ มีความอุปถัมภ์สห-
ชาตธรรมทั้งหลายเป็นรส มีความไม่ท้อถอยเป็นปัจจุปัฏฐาน มีความสลดใจ
เป็นปทัฏฐาน เพราะพระบาลีว่า สํวิคฺโค โยนิโส ปทหติ (ความสลด
ย่อมเริ่มตั้งความเพียรโดยแยบคาย) หรือมีวัตถุแห่งวิริยารัมภะเป็นปทัฏฐาน.
บัณฑิตพึงทราบว่า ความเพียรอันเริ่มตั้งไว้โดยชอบ เป็นมูลเหตุแห่งสมบัติ
ทั้งปวง ดังนี้.

ความหมายของคำว่า สตินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า สติ เพราะเป็นเหตุระลึก หรือว่า ย่อมระลึกเอง หรือว่า
เป็นเพียงการระลึกเท่านั้น. ก็สตินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถเป็นอธิบดี
โดยครอบงำความเป็นผู้หลงลืมด้วยสติ อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะ
ครองความเป็นใหญ่ในลักษณะแห่งการอุปการะ สตินั่นแหละเป็นอินทรีย์

ชื่อว่า สตินทรีย์. ก็สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟั่นเฟือน) เป็นลักษณะ
และมีการเข้าไปประคองไว้เป็นลักษณะ สติย่อมให้กำหนด ย่อมให้ระลึก
กุศลกรรมโดยชอบ เหมือนขุนคลังของพระราชารักษารัตนะ 10 อย่าง ย่อ
ยังพระราชาให้กำหนด ให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติในเวลาเย็นเวลาเช้า ฉะนั้น.
ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระจึงถวายพระพรพระราชาว่า มหาบพิตร ขุนคลัง
ของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมให้พระเจ้าจักรพรรดิให้ระลึกถึงอิสริยสมบัติทั้ง
เวลาเย็นและเวลาเช้าว่า ข้าแต่เทวะ ช้างมีประมาณเท่านี้ ม้ามีประมาณเท่านี้
รถมีประมาณเท่านี้ พลเดินเท้ามีประมาณเท่านี้ เงินมีประมาณเท่านี้ ทองมี
ประมาณเท่านี้ สมบัติทั้งปวงมีประมาณเท่านี้ ขอเทวะจงระลึกถึงอิสริยสมบัติ
นั้น ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ย่อมให้
ระลึกถึงกุศลธรรมทั้งหลาย คือ สติปัฏฐาน 4 เหล่านี้ สัมมัปปธาน 4 เหล่านี้
อิทธิบาท 4 เหล่านี้ อินทรีย์ 4 เหล่านี้ พละ 5 เหล่านี้ โพชฌงค์ 7 เหล่านี้
นี้อริยมรรคประกอบด้วยองค์ 8 นี้สมถะ นี้วิปัสสนา เหล่านี้เป็นอริยสัจ
นี้เป็นวิชชา นี้เป็นวิมุตติ เหล่านั้นเป็นโลกุตรธรรม มหาบพิตร สติมีการระลึก
เป็นลักษณะอย่างนี้แล.
ก็สติใคร่ครวญคติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น
ประโยชน์ รู้ว่าธรรมทั้งหลายมีกายทุจริตเป็นต้นเหล่านี้ ว่าไม่มีประโยชน์
ย่อมบันเทาธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ รู้ว่าธรรมมีกายสุจริตเป็นต้นเหล่านี้เป็น
ประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์ เหมือนปริณายกแก้วของ
พระเจ้าจักรพรรดิ รู้สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์ของพระเจ้า-
จักรพรรดิ ย่อมนำสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกไป ย่อมน้อมเข้ามาซึ่งสิ่งเป็น
ประโยชน์ ฉะนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระนาคเสนเถระถึงถวายพระพรพระราชาว่า

มหาบพิตร ปริณายกแก้วของพระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และ
ไม่เป็นประโยชน์แก่พระเจ้าจักรพรรดิว่า สิ่งเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่พระราชา
สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์ สิ่งเหล่านั้นเป็นอุปการะ สิ่งเหล่านี้ไม่เป็นอุปการะ
ดังนี้ จากนั้นก็จะบันเทา (กำจัด ) สิ่งไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคอง
สิ่งที่เป็นประโยชน์ ฉันใด ขอถวายพระพรมหาบพิตร สติฉันนั้นเหมือนกันแล
เมื่อเกิดขึ้น ย่อมใคร่ครวญสติทั้งหลายแห่งธรรมที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็น
ประโยชน์ว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นประโยชน์ ธรรมเหล่านี้ไม่เป็นประโยชน์
ธรรมเหล่านี้มีอุปการะ ธรรมเหล่านี้ไม่มีอุปการะ ดังนี้ จากนั้นย่อมบันเทา
(กำจัด) ธรรมที่ไม่เป็นประโยชน์ ย่อมประคับประคองธรรมที่เป็นประโยชน์
มหาบพิตร สติมีการประคับประคองเป็นลักษณะอย่างนี้แล.
ก็อีกนัยหนึ่ง สติมีการระลึกเป็นลักษณะ มีการไม่หลงลืมเป็นรส
มีการอารักขา (การรักษาอารมณ์) เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีการมุ่งต่ออารมณ์
เป็นปทัฏฐาน มีการจำได้อันมั่นคงเป็นปทัฏฐาน หรือว่ามีกายคตาสติปัฏฐาน
เป็นต้นเป็นปทัฏฐาน ก็บัณฑิตพึงเห็นสติเหมือนเสาเขื่อน เพราะตั้งอยู่มั่นคง
ในอารมณ์ และเหมือนนายทวารผู้รักษาประตู เพราะรักษาทวารทั้งหลาย
มีจักขุทวารเป็นต้น.

ความหมายของสมาธินทรีย์



ธรรมที่ชื่อว่า สมาธิ เพราะตั้งมั่น คือวางจิตไว้ในอารมณ์โดยชอบ
ก็สมาธินั้น ชื่อว่า อินทรีย์ ด้วยอรรถว่าเป็นอธิบดี เพราะครอบงำความ
ฟุ้งซ่าน อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อินทรีย์ เพราะครองความเป็นใหญ่กว่าธรรมอื่น
ในลักษณะแห่งความไม่ฟุ้งซ่าน. สมาธินั่นแหละเป็นอินทรีย์ ชื่อว่า สมาธินทรีย์